องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา

LUBOBUESA SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION

ประวัติความเป็นมา

  ตำบลลุโบะบือซา 
 

บ้านลุโบะบือซา  หมู่ที่ 1                                                                                                                    
ความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน
          บ้านลุโบะบือซา เป็นชื่อเรียกตามชื่อบึงใหญ่ คำว่า ลุโบะ หมายถึง บึง และคำว่า บือซา หมายถึง ใหญ่  คนสมัยก่อนได้ติดต่อกับชุมชนบ้านทอนทำการค้าขายแลกเปลี่ยนเป็นที่จอดเรือจุดศูนย์กลางของตำบลุโบะบือซาในสมัยก่อนการติดต่อสื่อสารจะติดต่อโดยการใช้เรือ เพราะถนนหนทางยังไม่มี  คนที่แต่งตั้งตำบลลุโบะบือซา  คือ  ขุนสำราญ  ลูโบะราษฎร์  ซึ่งเป็นกำนันคนแรกของลุโบะบือซา ซึ่งสมัยนั้นหมู่บ้านลุโบะบือซา  มีโรงเรียน แห่งแรกของตำบลลุโบะบือซา ซึงปัจจุบันย้ายมาอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 คือ โรงเรียนบ้านกำปงปีแซ และปอเนาะแห่งแรกของตำบลลุโบะบือซาคือ โรงเรียนอดุลย์ วิทยา

 
บ้านกาแร  หมู่ที่ 2
ความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน
          ในปีพ.ศ. 2295 ปีที่แล้ว ในหมู่บ้านนี้มีสถานที่แห่งหนึ่ง  มีลักษณะเป็นหนองน้ำ และสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยหินที่มี ลักษณะเป็นรูพรุน หินชนิดนี้ภาษายาวีจะเรียกว่า  กาแร  ซึ่งจะมีลักษณะแข็งมาก และในหมู่บ้านแถบใกล้เคียงกับหมู่บ้านแห่งนี้  จะไม่พบหิน ลักษณะนี้เลย ด้วยเหตุนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่จึงเรียกว่า หมู่บ้านกาแร

 
บ้านกำปงปีแซ  หมู่ที่ 3
ความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน
          จากการสัมภาษณ์ และสอบถามคนเฒ่าคนแก่ที่ได้ฟังจากการบอกเล่าของบรรพบุรุษคือ กลุ่มผู้นำโดยโต๊ะอิโต๊ะมุหนึ่งในสามพี่น้องที่อพยพมาจากกรุงเทพมหานคร โดยคนแรกตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส คนที่สอง ตั้งที่ถิ่นฐานอยู่ที่บ้านบูเก๊ะบูงอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และคนที่สามได้บุกเบิกและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคกกะลง อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ที่ตั้งบ้านโคกกะดุงจะมีปากทางเป็นที่ผ่านเข้าออกของหมู่บ้าน ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่า และกล้วยป่าเป็นจำนวนมากชาวบ้านมักจะไปเอาหยวกกล้วยมาทำเป็นอาหาร เมือมีคนถามว่าจะไปไหน ก็ตอบว่าจะไปเอาหยวกกล้วยแกงๆต้นกล้วย บางคนจะไปล่าสัตว์ก็จะบอกว่าไปล่าสัตว์แกงๆ ต้นกล้วยหรือ บางไปทำไร่แถวๆต้นกล้วยเมือหมู่บ้านโคกกะดุง มีการขยายตั้ง บ้านเรือนบริเวณที่เป็นต้นกล้วยก็เลยเรียกติดปากว่า กำปงปีแซ ก็คือ หมู่บ้านต้นกล้วยนั่งเองต่อมาได้มีกลุ่มคนจากบ้านสนอยานยา กลุ่มคนอำเภอเทพา และคนอื่นๆจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งถิ่นฐานอาศัย อยู่ร่วมกันจนถึงปัจจุบัน
 
ลุโบะดาโต๊ะ  หมู่ที่ 4
ความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน
          บ้านลุโบะดาโต๊ะ เป็นชื่อเรียกของหมู่บ้านซึ่งมีความหมายอยู่ในตัว คำว่า "ลุโบะ "หมายถึงคลองหรือบึง ดาโต๊ะ ในความหมายของประชาชนในหมู่บ้าน คือ พระสงฆ์ หรือ พระ ในอดีต โดยไปสัมพันธ์กับเรื่องราวในอดีตมีอยู่ว่า พระสงฆ์รูปหนึ่งมาธุดงอยู่ในป่า พื้นที่บริเวณซึ่งตอนนั้น ถนนหนทางยังไม่เจริญ มีอยู่วันหนึ่งจึงเดินเลาะเพื่อหาทางข้ามบังเอิญท่านได้เหลือบมองเห็นไม้ข้ามเล็ก ๆที่ประชาชนใช้ข้ามกันเพื่อไปอีกฟากหนึ่ง ท่านได้พยายามข้ามคลองนั้น บังเอิญไม้เท้าที่ท่านถือได้ตกลงไปในคลอง ท่านก็เลยตกลงไปในคลองเพื่อหาไม้เท้าดังกล่าว หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ ท่านก็เลยมาตามคนในหมู่บ้านมาหาไม้เท้าของท่านประชาชนในหมู่บ้านมากันมากมายเพื่อพยายามค้นหา นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านก็เลยเรียกกันติดปากว่า คลองดาโต๊ะ ภาษามลายู เรียกว่า ลุโบะดาโต๊ะ
 
บ้านยาโง๊ะ   หมู่ที่ 5
ความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน
          บ้าน "ยาโง๊ะ" เคยมีผู้เฒ่าคู่หนึ่งชื่อ โต๊ะนูโดะ ผู้เฒ่าผู้นั้นได้ถางป่าและปลูกข้าว ข้าวที่ปลูกผลออกมามีเคราประมาณ  1 นิ้วและผู้เฒ่าผู้นั้นมีเคราเหมือนกันซึ่งคนเขาเรียกว่า โต๊ะยาโง๊ะ
ในหมู่บ้านแห่งนี้รวมทั้งหมู่บ้านใกล้เคียงเมื่อถึงฤดูปลูกข้าวชาวบ้านไปขอพันธ์ข้าวที่บ้านโต๊ะยาโงะ บ้านที่โต๊ะยาโงะอาศัยอยู่นั้นเป็นที่ราบลุ่มน้ำซี่งจะมีน้ำไหลผ่านตลอดปีนับแต่นั้นมาชาวบ้านจึงเรียก หมู่บ้านนี้ว่า "หมู่บ้านยาโงะ"จนถึงปัจจุบัน

 
บ้านโคกมาแจ  หมู่ที่  6                                                                                                                                                    
ความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน
          บ้านโคกมาแจ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2543 หรือ 13 ปี มาแล้ว ซึ่งในสมัยก่อนนั้นหมู่บ้านนี้มีต้นมะมุดมาก เป็นที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ซึ่งชาวบ้านที่เข้ามาในหมู่บ้านนี้จะเรียก กาปงมาแจ ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อจากกำปงมาแจ เป็นโคกมาแจ ด้วยเหตุนี้จึงได้เรียก หมู่บ้านนี้ว่า โคกมาแจ มาจนถึงปัจจุบัน
 

องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา

หมู่ที่ 3 ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส 96180 โทร 073-709750 แฟกซ์ 073-709751

อีเมล์ : saraban@lubobuesa.go.th

Copyright © 2015 www.LUBOBUESA.go.th : All rights reserved.

^